อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

http://powere.siam2web.com/

 ไตรแอก (Triac)

(triac) 2009226_65121.jpg(triac) 2009226_65233.jpg

รูปที่ 1 เป็นตัวอย่างไตรแอกในงานอุตสาหกรรม

   

 ไตรแอค(Triac) เป็นอุปกรณ์จำพวกสารกึ่งตัวนำในกลุ่มของไทริสเตอร์ มีลักษณะโครงสร้างภายในคล้ายกับไดแอค แต่มีขาเกตเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ขา ไตรแอตถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ไข ข้อบกพร่องของ SCR ซึ่งไม่สามารถนำกระแสในซีกลบของไฟฟ้าสลับได้ การนำไตรแอคไปใช้ งานส่วนใหญ่จะใช้ทำเป็นวงจรควบคุมการทำงานเป็นสวิตซ์ต่อแรงดันไฟสลับ ไตรแอคถูกสร้าง ขึ้นมาให้ใช้งานกระแสสูงๆดังนั้นต้องระวังเรื่องของการระบายความร้อน สัญลักษณ์,โครงสร้างและวงจรสมมูลของไตรแอคดังรูปที่ 2 ,ขและค โครงสร้างของไตรแอคจะประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำตอนใหญ่ 3 ตอน คือ PNP และในสารกึ่งตัวนำตอนใหญ่จะมีสารกึ่งตัวนำตอนย่อยชนิด N อีก 3 ตอนต่อร่วมในสารกึ่งตัวนำ P ทั้ง 2 ตอนมีขาต่อออกมาใช้งาน 3 ขา เหมือน SCR- ขาแอโนด 1 (A1) เรียกว่า ขาเทอร์มินอล 1 (Main terminal 1) MT1 - ขาแอโนด 2 (A2) เรียกว่า ขาเทอร์มินอล 2 (Main terminal 2) MT2- ขาเกท (Gate) G 

                         

(triac) 2009226_65486.jpg

รูปที่ 2 สัญลักษณ์และตำแหน่งขาของไตแอก

                 หลักการทำงานของไตรแอก

ไตรแอคมีคุณสมบัติ ทำงานได้ทั้งแรงดันช่วงบวกและแรงดันช่วงลบ การนำกระแสของไตรแอคจะขึ้นอยู่กับแรงดันที่ป้อนกระตุ้นขา G และแรงดันที่จ่ายให้ขา A2 และ A1 การจ่ายไบอัสให้ตัวไตรแอคสามารถแบ่งได้เป็น 4 สภาวะคือ         

     1.สภาวะที่ 1 หรือควอนแดรนด์ที่ 1 จ่ายแรงดันบวกให้ขา A2 จ่ายแรงดันลบให้ขา A1 และ     จ่ายแรงดันบวกกระตุ้นขา G จะเกิดการนำกระแสในตัวไตรแอคดังรูปที่ 3 ทิศทางการไหลของ     กระแสทั้งสองจะไหลในทิศทางเดียวกัน หรือกระแสไหลเสริมกัน ทำให้ IA ไหลมากขึ้

 

(triac) 2009226_65935.jpg

รูปที่ 3 สภาวะที่ 1 หรือควอนแดรนด์ที่ 1

                  2.สภาวะที่ 2 หรือควอนแดรนด์ที่ 2 จ่ายแรงดันบวกให้ขา A2 จ่ายแรงดันลบให้ขา A1 แต่ จ่ายแรงดันลบกระตุ้นขา G จะเกิดการนำกระแสในตัวไตรแอคดังรูปที่ 4 ทิศทางการไหลของ กระแสทั้งสองจะไหลในทิศทางสวนทาง หรือกระแสไหลหักล้างกัน ทำให้ IA ไหลน้อยลง 

(triac) 2009226_66144.jpg

รูปที่ 4 สภาวะที่ 2 หรือควอนแดรนด์ที่ 2

               3.สภาวะที่ 3 หรือควอนแดรนด์ที่ 3 จ่ายแรงดันลบให้ขา A2 จ่ายแรงดันบวกให้ขา A1 แต่     จ่ายแรงดันลบกระตุ้นขา G จะเกิดการนำกระแสในตัวไตรแอคดังรูปที่ 5 ทิศทางการไหลของ     กระแสทั้งสองจะไหลในทิศทางเดียวกัน หรือกระแสไหลเสริมกัน ทำให้ IA ไหลมากขึ้น 
(triac) 2009226_66237.jpg

รูปที่ 5 สภาวะที่ 3 หรือควอนแดรนด์ที่ 3

       4.สภาวะที่ 4 หรือควอนแดรนด์ที่ 4 จ่ายแรงดันลบให้ขา A2 จ่ายแรงดันบวกให้ขา A1 แต่     จ่ายแรงดันบวกกระตุ้นขา G จะเกิดการนำกระแสในตัวไตรแอคดังรูปที่ 6 ทิศทางการไหลของ กระแสทั้งสองจะไหลในทิศทางสวนทาง หรือกระแสไหลหักล้างกัน ทำให้ IA ไหลน้อยลง
(triac) 2009226_66698.jpg

รูปที่ 6 สภาวะที่ 4 หรือควอนแดรนด์ที่ 4

               กราฟคุณสมบัติของไตรแอค

(triac) 2009226_66782.jpg

รูปที่ 7 กราฟลักษณะสมบัติของไตรแอค

จากกราฟลักษณะสมบัติของไตรแอค แรงดันไบอัสตรงกับไตรแอค(VBO(0)) และจ่ายกระแสเกตบวก(IG) ให้กับเกตของไตรแอค จะทำให้ไตรแอคนำกระแสได้โดยกระแสจะไหลจากขั้ว A1ไปยังขั้ว A2 และเมื่อป้อนแรงดันไบอัสลบให้กับไตรแอค(-VBO(0)) โดยไม่ให้เกินกว่าค่าแรงดันพังทลายสามารถจ่ายกระแสเกตลบ(-IG) กระแสจะไหลจากขั้ว A2 ไปยังขั้ว A1

              การหยุดการนำกระแสของไตรแอค         ไตรแอคเมื่อนำกระแสแล้วจะไม่จำเป็นต้องคงค้างแรงดันที่จ่ายกระตุ้นขา G เพราะไตรแอค      จะนำกระแสต่อเนื่องได้เหมือนกับ SCR จะหยุดนำกระแสทำได้ 2 วิธีเหมือน SCR คือ      1.ตัดแหล่งจ่ายแรงดัน VAA ที่ป้อนให้ขา A2 และขา A1 ของไตรแอคออกชั่วขณะ      2.ลดแรงดันไบอัสตรงที่จ่ายให้ขา A2 และ A1 ลง จนทำให้มีกระแสไหลผ่านตัวไตรแอคต่ำ กว่ากระแสโฮลดิ้ง(holding current) ของไตรแอค

        การควบคุมเฟสของไตรแอก    ไตรแอคสามารถนำกระแสในไฟสลับ ได้ 2 ซีก คือ ซีกบวกและซีกลบ ในการควบคุมไฟ          สลับสามารถทำได้กับ ไฟสลับ 1 เฟส และ 3 เฟส ดังนี้คือ การควบคุมแรงดันไฟสลับชนิดเฟสเดียว ถ้าใช้ไตรแอคจะใช้เพียงตัวเดียว แต่ถ้าใช้ SCR       จะต้องใช้ 2 ตัว ดังรูปที่ 8

(triac) 2009226_66986.jpg
 


   
 
 

รูปที่ 8 วงจรควบคุมแรงดันไฟสลับ 1 เฟส ด้วยไตรแอค และSCR

     

          การควบคุมความถี่ของไตรแอก    การควบคุมความถี่ ทำได้โดยการปรับค่าแรงดันให้เป็นสัดส่วนกับความถี่หรือการรักษา     อัตราส่วนโวลต์ต่อเฮิรตซ์ให้คงที่ วิธีนี้มีข้อเสียอยู่ที่ ต้องปรับค่า แรงดันและความถี่พร้อม ๆ กัน     ซึ่งการควบคุมดังกล่าวทำได้ 3 วิธีคือ1 ปรับเปลี่ยนค่าแรงดันเอซีเอาท์พุตที่ออกจากอินเวอร์เตอร์2 ปรับเปลี่ยนค่าแรงดันเอซีอินพุตที่ป้อนเข้าทางอินเวอร์เตอร์3 ปรับเปลี่ยนค่าแรงดันเอซีโดยการใช้สวิตซ์ชิงภายในอินเอวร์เตอร์ การปรับเปลี่ยนแรงดัน ด้วยการเปลี่ยนความถี่ทำได้โดยการจุดชนวนไตรแอก ซึ่งพัลส์จะ สร้างโดยวงจรกวัดแกร่งหรือไมรโครโปรเซสเซอร์ และอาศัยการป้อนกลับของสัญญาณ ดังรูปที่ 13

(triac) 2009226_67395.jpg

รูปที่ 13 วงจรควบคุมความถี่โดยการป้อนสัญญาณกลับ

            
Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 113,733 Today: 6 PageView/Month: 87

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...